ความเป็นมา

โครงการปิดทองหลังพระ สืบสนแนวพระราชดำริ  
(โครงการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ)


      ตามที่คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ได้มีมติเห็นชอบโครงการปิดทองหลังพระฯ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน นำแนวพระราชดำริ ไปพัฒนาทั่วประเทศ อันเป็นการเฉลิมฉลองวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบเพื่อให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ ตรงจากแนวทางโครงการพระราชดำริ และน้อมนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนปีละ ๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นระยะเวลา ๔ ปี ( ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ ) พร้อมทั้งได้เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ อำนวยการโครงการปิดทองหลังพระฯ โดยมี ีฯพณฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีเป็นประธาน ในการดำเนินภารกิจ ของโครงการปิดทองหลังพระฯ เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริ ให้ขยายผลสู่ชุมชนท้องถิ่น อย่างกว้างขวาง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนั้น กลับมีข้อจำกัดการที่เป็นหน่วยงานย่อย ในสำนักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน ) ดังนั้นเพื่อให้มีหน่วยงานเฉพาะรองรับภารกิจ สืบสานแนวพระราชดำริ ให้ขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างกว้างขวางคณะรัฐมนตรี จึงได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการจัดตั้ง “มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ” และ “สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ” ทั้งนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นำไปสู่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบูรณาการ แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่าน เป็นงานด้านส่งเสริมการพัฒนา ของโครงการ ปิดทองหลังพระฯ (ในขณะนั้น ) ซึ่งจังหวัดน่านเป็นจังหวัดแรก ที่โครงการปิดทองหลังพระฯ ได้พิจารณาคัดเลือก เป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาระบบต้นแบบ และโครงการบริหารจัดการน้ำ อย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริจังหวัดอุดรธานี” เป็นพื้นที่ขยายผล ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนา กิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ภายใต้มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสาน แนวพระราชดำริ โดยหลังจากที่ดำเนินการโครงการ ในจังหวัดน่านได้ ๑ ปี ๙ เดือน และเห็นผลความสำเร็จในระดับที่ชุมชน ในพื้นที่ สามารถอยู่รอดได้อย่างพอเพียงแล้วคณะกรรมการสถาบันฯ จึงมีมติการประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ เห็นชอบการดำเนินงานในพื้นที่ อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ อ.หนองวัวซอ จ.อุุดรธานี ให้เป็นพื้นที่ขยายผลของสถาบันฯ
     สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ/มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินพื้นที่ขยายผลปิดทองหลังพระฯ ในพื้นที่ ๑๐ จังหวัด ๑๘ หมู่บ้าน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก สิงห์บุรี  ตราด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เลย และยะลา ซึ่งดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ และในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้บรรจุชื่อแผนงานและกรอบงบประมาณการดำเนินงานตามปรัชญาและวิธีการทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ไว้ในแผนบริหารราชการแผ่นดินปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๘ ของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้ชื่อเดียวกันว่า "แผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ" โดยมีพื้นที่ดำเนินงานตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๘ ประกอบด้วย แหล่งน้ำขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน ๑๔๒  แห่ง ๑๐๙ อำเภอ ๔๖  จังหวัด สำหรับจังหวัดพะเยามีพื้นที่ดำเนินการในปี พ.ศ.๒๕๕๕  พื้นที่บ้านต๋อม ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา ปี พ.ศ.๒๕๕๖ พื้นที่บ้านหล่ายทุ่ง ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน และ ปี พ.ศ.๒๕๕๗ พื้นที่บ้านอิงโค้ง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว 
     จังหวัดพะเยา มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยา  เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ฯ ของจังหวัด เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๕ โดยได้ตั้งแต่งคณะทำงานบูรณาการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาชนบท เชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ ระดับจังหวัด ตามคำสั่งจังหวัดพะเยา ที่ ๔๖๖/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖, คำสั่งจังหวัดพะเยา ที่ ๒๗๕๔/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และแต่งตั้งระดับอำเภอ คำสั่งอำเภอเมืองพะเยา ที่ ๒๙๑/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕, คำสั่งจังหวัดพะเยา ที่ ๔๖๔/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ...

ไม่มีความคิดเห็น: